เตือนภัยจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
จากการที่ได้ลงพื้นที่ตรวจความสะอาดของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญใน กรุงเทพมหานคร ทั้ง50เขตนั้น ของหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร คณะกรรมการอาหาร
และยา (อย.) ได้พบจุลินทรีย์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากพบแบคทีเรียอิโคลายกว่า 0.57% และพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มที่เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วง เช่นเดียวกับแบคทีเรียอีโคลายคิดเป็น 5.43%
ของตัวอย่างน้ำที่นำมาตรวจ ซึ่งแบคทีเรียดังกล่าวไม่ควรพบในน้ำดื่ม แต่ถ้านำไปต้มก่อนดื่มก็ไม่เป็นอันตรายกับผู้บริโภค
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นแหล่งที่ให้บริการน้ำดื่มในราคาย่อมเยา และอำนวย
ความสะดวกแก่ผู้อาศัยในย่านนั้น ซึ่งความสะอาดของน้ำดื่มไม่สามารถวัดได้
ด้วยตาเปล่า และนอกจากการนำน้ำดื่มที่ได้จากตู้ไปต้มก่อนดื่ม เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ในฐานะที่เราเป็นผู้บริโภคก่อนซื้อน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในครั้งต่อไป
ได้อย่างสะอาด และมีคุณภาพ ควรสังเกตตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญดังนี้
หลักการเลือกใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
- บริเวณถาดรองน้ำ หัวจ่ายน้ำของตู้น้ำดื่มนั้นสะอาดหรือไม่ มีฝาปิดมิดชิดหรือไม่ และไม่ควรตั้งอยู่กลางแจ้ง เพราะแสงแดดจะทำให้ตะไคร่ขึ้นภายในหัวจ่ายน้ำ
- สังเกตสติ๊กเกอร์บอกวันและเวลาที่ระบุว่าบริษัทเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญได้เปลี่ยนไส้กรอง หรือตรวจคุณภาพครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
- หลังจากกดหรือรองน้ำให้สังเกตสีของน้ำดื่มว่าใส ไม่มีกลิ่นหรือรสชาติผิดปกติ
- หมั่นล้าง และทำความสะอาดขวดบรรจุน้ำก่อนกดซื้อตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
ที่มา : นิตยสาร Health Today ปีที่ 7 ฉบับที่ 80
เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2550, ผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 19 กันยายน 2550